เมื่อเด็กเกิดได้ไม่ต่ำกว่า ๑ เดือน มักนิยมโกนผมไฟ พิธีการอย่างแบบพระ มีไม่มากเท่าไรนัก ข้อสำคัญ คือ
๑.หาวันและเวลาโกนผมไฟจากผู้รู้
๒.อาราธนาพระมาสวดมนต์และฉัน
๓.จัดที่บูชาอย่างทำบุญมงคลธรรมดา
ส่วนเครื่องใช้พิเศษก็คือ กระแจะสำหรับเจิม ด้านสายสิญจน์สำหรับผูกมือ ผูกเท้าเด็ก กรรไกร กรรบิดเงินทอง ใบบอน จัดใส่ไว้ในพานวางไว้ที่ข้างที่บูชา วงด้วยสายสิญจน์ นี้เป็นอย่างน้อย อย่างมากมักจัดโต๊ะล้างหน้า ประกอบด้วยสังข์ กรรไกร กรรบิดเงิน ใบบอน วางไว้ข้างที่บูชา วงด้วยสายสิญจน์ และมีบายศรีปากชาม ๑ ที่
พิธีการ เวลาพระสวดมนต์ เอาเด็กอยู่ในวงรอบของสายสิญจน์ พ่อแม่เด็กเป็นคนจุดธูปเทียนหน้าพระ นอกจากนั้นเมื่อได้ฤกษ์ ถ้าเป็นชาย ให้พระเป็นผู้หัวหน้าตัดผมเล็กน้อยพอเป็นพิธี เจิมหน้าและผูกมือผูกเท้าพระนอกนั้น ชะยันโต ฯลฯ ๓ จบ นอกนั้น ญาติผู้ใหญ่หรือผู้มีเกียรติอื่นๆ ตัดผมเด็กพอเป็นพิธีเป็นลำดับไป ถ้าเป็นเด็กผู้หญิง เป็นเรื่องของฆราวาสจะพึงทำตามลำดับ พระจะทำเพียงประพรมน้ำมนต์ให้เท่านั้น ในการตัดหรือขริบผมนั้น ต้องเอากรรไกรหรือกรรบิดจุ่มในน้ำมนต์ก่อนเสมอ เมื่อพระสวดอนุโมทนาและเจ้าภาพกรวดน้ำแล้ว เป็นเสร็จพิธี
หมายเหตุ ในสมัยก่อน เมื่อตัดหรือขริบผมแล้ว มักพาเด็กไปโกนผมด้วย แต่เดี๋ยวนี้ไม่นิยมแล้ว ในกรณีที่มีบายศรีเวลาตัดเสร็จ มักเอา(ไข่แดง) ที่ยอดบายศรีให้เด็กกินด้วย ผมที่ตัดที่ขริบหรือโกนแล้ว มักนิยมวางไว้ที่ใบบอน เสร็จพิธีแล้วจึงนำไปลอยน้ำ พิธีนี้บางรายก็ใช้พราหมณ์มาทำพิธีด้วย พิธีพราหมณ์มีของพิเศษอีกหลายอย่าง เช่น สังข์และบัณเฑาะว์ มะพร้าวเงิน มะพร้าวทอง เป็นต้น และวิธีการก็แตกต่างกันไปจากที่กล่าวแล้ว
แหล่งข้อมูล: มงคลพิธี ฉบับสมบูรณ์ รวบรวมและเรียบเรียงโดย ท. ธีรานันท์
แหล่งข้อมูล: มงคลพิธี ฉบับสมบูรณ์ รวบรวมและเรียบเรียงโดย ท. ธีรานันท์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น